ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ใครต้องเสียภาษีที่ดิน
-
เจ้าของที่ดิน / เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง / เจ้าของห้องชุด
-
ผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ(ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
ที่ดินแต่ละประเภท เสียภาษีเท่าไหร่
อัตราการเก็บภาษีที่ดินใหม่ จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยคิดอัตราภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาประเมิน ต่อไปนี้
* หมายเหตุ : ข้อมูลต่อไปนี้เป็นอัตราการเก็บภาษีที่มีผลบังคับใช้ในปี 2563-2564 ส่วนปีต่อ ๆ ไป อาจพิจารณาเก็บตามอัตราเพดานสูงสุดอีกที
1. เกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15%
อัตราภาษีปี 2563-2564
- มูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 100 บาท)
- มูลค่าเกิน 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 300 บาท)
- มูลค่าเกิน 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 500 บาท)
- มูลค่าเกิน 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 700 บาท)
- มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 1,000 บาท)
* กรณียกเว้นและลดภาษี
1. กรณีเป็นบุคคลธรรมดาที่ทำการเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีใน 3 ปีแรกที่กฎหมายบังคับใช้ (ปี 2563-2565) ส่วนปีที่ 4 เป็นต้นไป (คือ ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป) ได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทแรก/เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่หากเป็นนิติบุคคลจะไม่ได้รับการยกเว้น
2. เฉพาะปี 2563 ได้ลดภาษี 90% ของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อบรรเทาพิษ COVID-19
ดังนั้น เมื่อหักค่ายกเว้นแล้วจะได้อัตราภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรสำหรับบุคคลธรรมดา ดังนี้
ปี 2563
- บุคคลธรรมดาที่ทำการเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
- นิติบุคคลที่เป็นเจ้าของพื้นที่ทำการเกษตร คิดภาษีที่ดินตามอัตราปกติ แต่ได้ลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย 90% เหลือจ่ายเพียง 10% ของเงินที่คำนวณได้
ปี 2564-2565
- บุคคลธรรมดาที่ทำการเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
- นิติบุคคลที่เป็นเจ้าของพื้นที่ทำการเกษตร เสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
ปี 2566 เป็นต้นไป
- บุคคลธรรมดาที่ทำการเกษตร มีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี กรณีที่ดินมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท เก็บภาษีส่วนเกิน สูงสุดไม่เกิน 0.15%
- นิติบุคคลที่เป็นเจ้าของพื้นที่ทำการเกษตร เสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
เท่ากับว่า หากเรา (บุคคลธรรมดา) มีที่ดินทำการเกษตรที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ก็จะได้รับการยกเว้นไปโดยปริยาย ไม่ต้องเสียภาษีเลยสักปี
2. ที่พักอาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.3%
สำหรับคำจำกัดความของที่อยู่อาศัยนั้น ต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัยจะแบ่งเป็น 3 กรณีคือ
- กรณีบ้านหลังหลัก โดยบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- กรณีบ้านหลังหลัก โดยบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- กรณีบ้านหลังอื่น ๆ เช่น บ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป
โดยกำหนดให้จัดเก็บตามอัตราภาษี ดังนี้
อัตราภาษีปี 2563-2564
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มูลค่าไม่ถึง 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% (ล้านละ 200 บาท)
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มูลค่า 50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)
อย่างไรก็ตาม แต่ละกรณียังจะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีในปี 2563-2564 ตามเงื่อนไขที่แตกต่างกัน คือ
บ้านหลังหลัก โดยบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
3.กลุ่มใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย เช่น เพื่อการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เพดานภาษีสูงสุด 1.2%
หมายถึงที่ดินอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัย เช่น เป็นที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์ อย่างโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน หอพักรายวัน
อัตราภาษีปี 2563-2564
- มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% (ล้านละ 3,000 บาท)
- มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% (ล้านละ 4,000 บาท)
- มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% (ล้านละ 5,000 บาท)
- มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% (ล้านละ 6,000 บาท)
- มูลค่า 5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.7% (ล้านละ 7,000 บาท)
4.ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ เพดานภาษีสูงสุด 1.2% แต่จะเพิ่มเพดานเป็น 3% เมื่อปล่อยรกร้างว่างเปล่า ติดต่อกัน 3 ปี
หมายถึง ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควร หรือถูกปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่า
- มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% (ล้านละ 3,000 บาท)
- มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% (ล้านละ 4,000 บาท)
- มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% (ล้านละ 5,000 บาท)
- มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% (ล้านละ 6,000 บาท)
- มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7% (ล้านละ 7,000 บาท)
นอกจากนี้ หากปล่อยรกร้าง เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน จะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 0.3% ในปีที่ 4 และถูกเก็บเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก ๆ 3 ปี หากยังไม่ได้มีการนำมาทำประโยชน์ แต่สูงสุดไม่เกิน 3%
ต้องเสียภาษีเมื่อไร ?
-
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต ออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน/บ้าน ให้ผู้เสียภาษีทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
-
ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี
-
หากมียอดภาษี 3,000 บาทขึ้นไป สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด งวดละเท่า ๆ กัน คือ จ่ายในเดือนเมษายน, พฤษภาคม และมิถุนายน
หมายเหตุ : สำหรับในปี 2563 ซึ่งจัดเก็บภาษีที่ดินเป็นปีแรก กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศขยายกำหนดเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินออกไปจากเดิมต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน 2563 เลื่อนไปเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563 เนื่องจากออกกฎหมายลำดับรอง อีก 8 ฉบับ ยังไม่แล้วเสร็จ
ดังนั้น เฉพาะปี 2563 จะดำเนินการตามระยะเวลา ดังนี้
มิถุนายน 2563
-
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต ออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน/บ้าน ให้ผู้เสียภาษี ทราบว่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่นั้นเป็นที่ดินประเภทใด
-
หากเราต้องการแก้ไขข้อมูล เช่น เปลี่ยนประเภทอสังหาริมทรัพย์ สามารถยื่นเรื่องได้ภายใน 15 วัน หลังรับหนังสือ
-
หลังจากนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต จะลงสำรวจพื้นที่อีกครั้ง แล้วส่งหนังสือประเมินให้ทราบ
-
หากผลประเมินไม่ตรงกับที่ผู้เสียภาษีแจ้งมา สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ครั้งที่ 2
-
กรณีผลอุทธรณ์ครั้งที่ 2 ไม่ทันช่วงของการเสียภาษีในเดือนสิงหาคม 2563 เราต้องชำระภาษีไปก่อน เมื่อได้ทราบผลอุทธรณ์แล้ว และผลเป็นจริงตามที่ผู้เสียภาษีแจ้งไว้ ก็จะได้รับเงินคืน
-
แต่หากอุทธรณ์ไม่ผ่าน โดยพบว่าแจ้งเท็จ จะมีโทษกฎหมายอาญา จำคุก 2 ปี ปรับสูงสุด 40,000 บาท
สิงหาคม 2563
เจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีที่ดินภายในเดือนสิงหาคม 2563 โดยสามารถผ่อนจ่ายได้ 3 งวด คือ จ่ายในเดือนสิงหาคม, กันยายน และตุลาคม
การคิดภาษีที่ดินแต่ละประเภทจะใช้มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินจากกรมธนารักษ์ โดยจะมีการปรับตามรอบบัญชีประเมินราคาทุก 4 ปี ซึ่งแยกวิธีคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายออกเป็น ดังนี้
ที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
ภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี
โดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
มีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
โดยมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) - ค่าเสื่อมราคา
ห้องชุด
ภาระภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี
โดยมูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)

ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้าที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
อัตราค่าภาษีป้าย
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
3. ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆหรือไม่
- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือตำกว่าอักษรต่างประเทศ
4. ป้ายทุกประเภท เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาทให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
1. เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ตั้งแต่ เดือนมกราคม-เดือนมีนาคมของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้ายภายใน 15 วัน และภาษีป้ายเป็นงวดๆ ละ 3 เดือน
2. ชำระภาษีป้าย ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่
3. ถ้าภาษีป้าย เกิน 3,000 บาท จะขอผ่อนชำระเป็นสามงวดเท่า ๆ กันได้
การอุทธรณ์
ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินเห็นว่าไม่ถูก ต้องยื่นคำร้องอุทธรรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ ก.ป.4 ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
อัตราโทษและค่าปรับ
1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภายในเดือนมีนาคม หรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งแระเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
4. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบเอกสารรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท
5. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย ภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันที่รับโอนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท
6. ผู้ใดไม่แสดงชื่อ-ที่อยู่เจ้าของป้ายเป็นอักษรไทย ไทยไม่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ซึ่งตดตั้งบนอสังหาริมทรัพท์ของผู้อื่น และพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาทเรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด
7. ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จ มาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



